วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ยินดีตอนรับเข้าสู้เว็บบล็อกของ น.ส.สลักจิตร์ จ้ายหนองบัว เพื่อใช้ในการเรียนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว สลักจิตร์ จ้ายหนองบัว

ชื่อเล่น อี๊ด

เกิดวันที 7 เมษายน 2530

สถานที่ทำงาน บริษัทไทยอาซาฮีเดนโซ่ จำกัด

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่จัดซื้อ

จบจาก โรงเรียนเทคโนโลยีพณิชยการพลาญชัยร้อยเอ็ด

สาวิชา การบัญชี

ตอบคำถามท้ายบทที่ 1

ข้อ1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

ตอบ
เทคโนโลยี
หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การนำเอาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เข้ามาใช้ในองค์กรทำให้ไม่ต้องใช้พนักงานเดินเอกสารเพื่อส่งข่าวสาร เป็นต้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่น สารสนเทศที่เป็นความรู้ที่เกิดจากข่าวสารรอบตัวซึ่งอาจมาจากวิทยุ โทรทัศน์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เช่น การฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น เครื่องพิมพ์
เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นCD ฮาร์ดดิสค์ เป็นต้น
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
ฐานความรู้ หมายถึงสารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ เช่น ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่ยุค"เศรษฐกิจฐานความรู้" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่าความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่า การพัฒนาความรู้ใหม่ๆเพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ

ข้อ 2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ

2.1.) ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูลซึ่งเรียกว่า ระบบการประมวลผลรายการเป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์การ เช่น การทำบัญชีการจองตั๋ว เป็นต้น
2.2.) ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการดำเนินงาน เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวกับการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพสินค้าที่ได้จากกระบวนการผลิต
2.3.) ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ เช่น สารสนเทศที่เป็นรายงานสรุปยอดรวมของการขายสินค้าในแต่ละภาคเป็นต้น
2.4.) ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาวซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า สภาวะการตลาดความสามารถของคู่แข่งขัน เป็นต้น

ข้อ 3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้างจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ตอบ

3.1.) ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์วัตถุประสงค์ช่วงนั้น เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น การทำบัญชี การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ
3.2) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์งานของผู้บริหาร เช่น รายงานยอดขาย รายงานรายได้รายจ่ายขององค์กรหรือธุรกิจ เป็นต้น
3.3)ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
3.4)ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ


ตอบคำถามท้ายบทที่ 2

ข้อ 1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำต่อไปนี้
ตอบ
-ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่สามารถสัมผัสได้ โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่จับต้อง สัมผัส และสามารถมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) และเชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์

เราสามารถแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ออกได้เป็น 5 หน่อยที่สำคัญดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการรับโปรแกรม และข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้า ได้แก่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) เครื่องสแกนต่างๆ เช่น เครื่องดูดบัตร สแกนเนอร์ ฯลฯ
2. หน่อยความจำ (Memory Unit)ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่อยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งให้หน่อยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เพื่อเตรียมส่งออกหน่อยแสดงข้อมูลต่อไป
3. หน่วยประมวลผลกลาง (CPUหรือ Central Processing Unit) ทำหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม หน่วยนี้จะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ อีก 2หน่วย ได้แก่ หน่วยคำนวณเลขคณิตและตรรกวิทยา (ALUหรือ Arithmetic and Logical Unit)และหน่วยควบคุม (CU หรือControl Unit)
4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storge) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดย ซีพียู รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลด้วย เพื่อการใช้งานในภายหลัง
5. หน่วยแสดงข้อมูล (Output Unit)ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
-ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น


1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือDOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบ เช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
-Peopelware หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานตามกระบวนวิธีการในกิจกรรมต่างๆ อันได้แก่ การสร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูล บางกลุ่มอาจทำหน้าที่ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาใหม่ๆ ตามความต้องการและในการประมวลผล และอาจเปลี่ยนแปลงโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในโอกาสต่างๆ จะเห็นว่าบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บางกลุ่มทำหน้าที่สร้างกระบวนการวิธีการให้แก่บุคลากรทางคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ ได้เพื่อให้การทำงานหรือใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้vผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter) หมายถึง ผู้ดูแลและคอยตรวจสอบสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพความพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิคการรักษา ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดการต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ค่อนข้างดีผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึง ผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่างๆได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้งานผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis)เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพดี เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ทำงานในส่วนต่อไป
ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager) เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
-ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
-สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (raw data)มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที ในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง กระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูลจัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสรสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบันประกอบด้วย
-ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)
-ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
-ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
-ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)
-ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

ข้อ 2.
หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware, Software และPeople ware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้างเพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ เลือกธุรกิจ ร้านขายของสะดวกซื้อ
Hardware ส่วนรับข้อมูล มีดังต่อไปนี้
เครื่องบันทึกเงินสด หน้าที่ของมันคือ นอกจากคำนวณเงินที่ขายสินค้าได้ เครื่องนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลดิบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง เพราะทันทีที่สินค้าถูกขายออกไป ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้าที่ขายได้ทุกชิ้น ประเภท ยีห้อ ราคา จำนวน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปยังเครื่องพีซี ที่ตั้งอยู่หลังร้าน เครื่องพีซีจะทำหน้าที่จัดการข้อมูลสินค้าภายในร้านทั้งหมด และยังจัดเก็บรายชื่อของสินค้า หรือยอดคงเหลือภายในร้าน
บาร์โค้ด หรือรหัสแท่ง เป็นระบบสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายประจำตัวสินค้าซึ่งเป็นเลขรหัสสินค้าและชนิดของสินค้า ราคาสินค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้ขาย ตั้งแต่การเก็บ การจัดจำหน่าย การสั่งซื้อสินค้า การรับส่งสินค้า การควบคุมสินค้าคงคลัง และเก็บเงินได้รวดเร็วขึ้น ประหยัดพลังงาน และบริการลูกค้าได้เร็วมากขึ้น และป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ตัวเลขของรหัสสินค้ามีจำนวนหลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย จึงนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดมาใช้ในการคิดเงิน และสะดวกต่อการเช็คสินค้าคงเหลือรวม เครื่องอ่านบาร์โค้ด มีหลายรูปแบบ เช่น แบบมีด้ามจับคล้ายปืน เป็นต้น
เครื่องพิมพ์ แบบดอตแมทริกซ์ เพราะไว้สำหรับพิมพ์ใบกำกับภาษีขนาดย่อไว้ให้สำหรับลูกค้า เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

Software ที่นำมาใช้ในร้านขายของสะดวกซื้อคือ
1.เป็นซอฟต์แวร์แบบประยุกต์ ที่ใช้งานอยู่ในธุรกิจทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์ระบบบัญชี ระบบบริหารคลังสินค้า ระบบสต็อก ซึ่งรองรับในการบริหารสำนักงานทั่วไป
2.เป็นระบบการนำเอาระบบSupply chain management หรือการบริหารกระบวนการของสินค้าตั้งแต่การผลิต การจัดส่ง ไปจนถึงมือลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งของกับผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ทำให้กระบวนการของการสั่งซื้อ และอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ในอนาคต ที่จะทำให้ข้อมูลแม่นยำถูกต้อง

People ware ที่ต้องใช้ในระบบ
ผู้ใช้งาน ต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบ และสามารถป้อนข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และต้องสามารถแก้ไขเครื่องเบื้องต้นได้ ในกรณีเครื่องเกิดขัดข้อง ต้องเรียนรู้วิธีการในเครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

ข้อ 3
ให้นักศึกษาแสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ

ข้อมูลและกราฟ



ตอบคำถามท้ายบทที่ 3

1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

ตอบ ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้ 3 วิธีดังนี้
1 . ขั้นเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี คือ
1.1 การลงรหัส 1.2 การตรวจสอบ
1.3 การจำแนก 1.4 การบันทึกข้อมูลลงชื่อ
2 . ขั้นตอนกรประมวลผล คือขั้นตอนการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆเช่น
2.1 การคำนวณ 2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
2.3 การสรุป 2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นต้น

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
ตอบ

1. บิต (Bit) หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล มีเลขฐาน 2 คือ 0,1
2. ไบต์ (Byte) การนำบิตมารวมกัน เรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร
3. ฟิลด์ (Field) การนำไบต์หลายๆไบต์ มารวมกัน เรียกว่าเขตข้อมูล
4. เรคอร์ด (Record) คือการนำฟิลด์ หลายๆฟิลด์ มารวมกัน เรียกว่าระเบียน
5. ไฟล์ (File) คือการนำเอาเรคอร์ดหลายๆเรคอร์ด มารวมกันเรียกว่า แฟ้มข้อมูล
6. ฐานข้อมูล (Database) คือการนำไฟล์หลายๆไฟล์มารวมกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล

3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
ตอบ ในหน่วยงานที่ทำงานอยู่ ใช้ระบบฐานข้อมูลแบบเครือข่าย และมีแฟ้มข้อมูลด้วยอิเล็กทรอนิคส์ เพราะที่ทำงานต้องมีการทำงานหลายแผนก แต่ละแผนกก็สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และแต่ละแผนกก็ยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ง่ายขึ้นได้ เช่นการรับเข้าของสินค้า หรือการ ตรวจเช็คยอดคงเหลือในคงคลัง

4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

ตอบ

ข้อมูลแบบแบช คือการรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆแล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำการประมวลผลครั้งเดียว จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อมูลแบบเรียลไทม์ คือการประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันที แสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยการแสดงผลทาง Out put เช่นการใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่างๆ

ตอบคำถามท้ายบทที่ 4

1.สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
-สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน
ข้อดี

1. มีราคาถูกสุด
2. ง่ายต่อการนำไปใช้งาน
ข้อเสีย

1. จะไวต่อสัญญาณรบกวนจากภายนอก
2. ใช้กับระยะทางสั้นๆ

-สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)
ข้อดี

1. ราคาถูก
2. มีน้ำหนักเบา
3. ง่ายต่อการนำไปใช้งาน
ข้อเสีย

1. มีความเร็วจำกัด
2. ใช้กับระยะทางสั้นๆ

-สายโคแอคเชียล (Coaxial)
ข้อดี

1. เชื่อมต่อได้ระยะทางไกล
2. ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย

1. มีราคาแพง
2. สายมีขนาดใหญ่
3. การติดตั้งหัวเชื่อมต่อ ค่อนข้างยุ่งยาก

- ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
ข้อดี

1. มีอัตราการลดทอนของสัญญาณต่ำ
2. ไม่มีการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า
3. มีแบนด์วิดธ์สูงมาก
4. มีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา
5. มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า
6. มีความปลอดภัยในข้อมูล
7. มีความทนทานและอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย

1. เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
2. ต้องระวังในการเดินสาย ไม่ให้มีการโค้งงอมากเกินไป
3. มีราคาสูง เมื่อเปรียบเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป

2.การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ องค์กรสามารถแชร์ข้อมูลร่วมกันได้ ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ หากมีผู้อื่นต้องการใช้ สามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้ ซึ่งก็จะช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วยเพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว และสามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ซิปไดร์ฟ เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง และยังสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้

3. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย(LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร
ตอบ เลือกการเชื่อมต่อแบบวงแหวน(Ring) เพราะมีข้อดีคือผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลายๆเครื่องพร้อมๆกัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeater แต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่าข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่ การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ Ring จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่องจึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป และคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

4.อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
ตอบ สามารถค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆได้ง่ายมากขึ้น เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่นห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นได้ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

ตอบคำถามท้ายบทที่ 5

1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์
โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1. การเงิน อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3. การเจาะระบบ การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6. ภายในโรงเรียน ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

2.อธิบายความหมายของ
2.1 Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
2.2 Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.3 Spam (สแปม) คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฎหมาย ลักษณะของแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด (Spam Board)
2.4 ม้าโทรจัน หมายถึง โปรแกรมที่ออกแบบมาให้แฝงเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อื่นในหลากหลายรูปแบบ เช่น โปรแกรม หรือ การ์ดอวยพร เป็นต้น เพื่อดักจับ ติดตาม หรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกคุกคาม โปรแกรมที่ถูกโหลดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อ ปฏิบัติการ "ล้วงความลับ" หรือ "ยึดเป็นฐานที่มั่นเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น" ม้าโทรจันจะไม่ทำอะไรกับคอมพิวเตอร์ เหมือนไวรัสอื่น ๆ ถ้าไม่มีคำสั่งใด ๆจากผู้ควบคุม
2.5 สปายแวร์ หมายถึง โปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเห็นเช่น โฆษณา ป็อปอัพ ที่คอยเด้งๆ เวลาเข้าเว็บหรืออยู่ดีๆ ก็แสดงมาซะงั้น หรือจะมาร้ายกว่าในลักษณะล้วงข้อมูลส่วนตัวเช่น ขโมยข้อมูล , รหัส เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว การที่มี Spy ware อยู่ในเครื่องนั้นพูดตรงๆ คือ ไม่มีข้อดีเลยทั้งยังจะสร้างปัญหาเข้ามาได้อีกหากปล่อยไว้นานๆ เพราะมันไม่ได้มีดีแค่ การแสดงโฆษณาเฉยๆ หรอกครับ เรามาดูวิธีแก้ไขหากติด สปายแวร์รวมถึงวิธีป้องกันกันดี

3.จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้างจงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษมา 5 ตัวอย่าง

1. ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ
มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้
2. เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี
มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความ ผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง
3. ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้นข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
4. มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด
ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่การครอบครองอาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม
5. คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี
สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา16 ที่ เพิ่มมาว่าผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่าแคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว